วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

แบบฝึกหัด

 เรื่องอินเทอร์เน็ต(บริการค้นหาข้อมูล)


1.ให้อธิบายพร้อมยกตัวอย่างความแตกต่างระหว่างการสืบค้นแบบ  Web directory , Meta  search ,  Search  engine 

ตอบ Web Directory (เว็บไดเรคทอรี่) หรือ Directories บางทีเรียกว่าLink Directory คือ ระบบที่เก็บรวบรวมเว็บไซต์ไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มออกเป็นหมวดหมู่ย่อย ๆ ได้ด้วย เว็บที่ถูกบันทึกในแต่ละกลุ่ม จะต้องมีหัวเรื่องหรือเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน เว็บไดเรคทอรี่บางแห่งทำหน้าที่เป็น Search Engineในตัวเองด้วย บางแห่งมีฟังก์ชั่นให้โหวตหาคะแนนนิยมของเว็บเพื่อจัดอันดับ 
 ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็น Web Directory มีดังนี้
– http://www.dmoz.org/
– http://www.directory-index.net/


search engineคือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน  ที่ทุกคนสามารถเข้าไปค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดย กรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมายก่ายกอง เพื่อให้เราเลือกข้อมูลที่เราโดนใจที่สุดเอามาใช้ งาน โดยลักษณะการแสดงผลของ Search Engine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเรา 
ตัวอย่างเช่น



2.จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการใช้คำสั่ง ดีใจจังค้นแล้วเจอแล้ว กับ การค้นหาแบบธรรมดา ใน Google
ตอบ     การใช้คำสั่ง “ดีใจจัง ค้นแล้วเจอเลย”จะช่วยให้ใช้เวลาในการค้นหาหน้าเว็บน้อยลงเพราะเมื่อใช้คำ สั่ง Google จะเข้าหน้าเว็บแรกที่เป็นผลลัพธ์ของข้อความค้นหาของคุณ ทันที ส่วนการใช้คำสั่งค้นหาแบบธรรมดานั้น Google จะแสดงผลลัพธ์เป็นหน้าเว็บให้คุณเลือกเข้าเอง


3.ในการค้นหาขั้นสูง จะมีคำสั่ง AND กับ OR  เพื่อใช้เสริมในการค้นหา  จงอธิบายความแตกต่างพร้อมยกตัวอย่างการใช้งานพร้อมผลลัพธ์ทั้งสอง (แต่ละคนห้ามซ้ำกัน)
ตอบ   คำสั่งคำว่า AND เป็นการให้คำที่เราต้องการค้นหา ปรากฏในผลลัพธ์ ทั้งสองคำ ที่อยู่ระหว่าง “AND” เช่น ค้นหาคำว่า Computer AND ram ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องมีคำว่า computer และ ram ทั้งสองคำนี้ปรากฏอยู่ เป็นต้น

ส่วนคำสั่งคำว่า OR เป็นการให้คำที่เราต้องค้นหา ปรากฏในผลลัพธ์ คำใดคำหนึ่ง ที่อยู่ระหว่าง “OR”   เช่น ค้นหาคำว่า computer OR ram ผลลัพธ์ที่ได้จะมีคำว่า computer หรือ ram คำใดคำหนึ่ง หรือทั้งสองคำปรากฏอยู่ เป็นต้น

4.Google Scholar มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร
ตอบ Google Scholar เป็นวิธีที่ง่ายๆ ในการค้นหางานเขียนทางวิชาการได้อย่างกว้างขวาง คุณสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่างๆ มากมายได้จากจุดเดียว: บทความ peer-reviewed วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทคัดย่อ และบทความจากสำนักพิมพ์ทางวิชาการ แวดวงวิชาชีพ ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่นๆ Google Scholar ช่วยให้คุณสามารถระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ


5.Google Guru  มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานอย่างไร
ตอบ บริการฟรีที่ช่วยให้ผู้ใช้ตั้งคำถาม และรับฟังคำตอบจากชุมชน โดยที่ทาง Google นั้นเชื่อว่า ‘กูรู’ จะช่วยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้สามารถ Login ผ่าน Google Account เหมือนบริการอื่น ๆ ของ Google ซึ่งจะมี การแบ่งหมวดหมู่คำถามเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน เช่น ความรู้ บันเทิง เทคโนโลยี การท่องเที่ยว เป็นต้น


6.iGoogle คืออะไรมีไว้เพื่อจุดประสงค์ใด

ตอบ    iGoogle ก็เหมือนกับหน้าเว็บไซต์ Google (ที่ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลต่างๆ) แต่ว่าเป็นหน้าของเราเอง โดย i ก็เท่ากับบอกว่า “ฉันไงกูเกิ้ล” ซึ่งไม่ได้มีไว้เพียงแค่ค้นหาเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถปรับแต่งหน้านั้นอย่างไรก็ได้ แล้วแต่เราพอใจ คือนอกจากที่เราจะสามารถเลือกเนื้อหามาแสดงได้แล้ว รูปร่างหน้าตาของเว็บ iGoogle เราก็สามารถปรับแต่งได้ด้วย เช่น เราชอบใช้ภาษาไทย เราก็ให้มันแสดงเป็นภาษาไทยได้ เปลี่ยนธีม(Theme) หรือรูปร่างหน้าตาทั้งเว็บได้ด้วย



7.จงบอกสิทธิประโยชน์ของการสมัครเป็นสมาชิกของ Google  ว่ามีความแตกต่างกับผู้ไม่สมัครอย่างไร (ให้นักเรียนบอกที่มาด้วย)
ตอบ  เมื่อสมัครเป็นสมาชิก Google จะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้
-สถิติเกี่ยวกับ Visitor รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์
-สถิติเกี่ยวกับ Traffic รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับช่องทางในการเข้าถึงเว็บไซต์
-สถิติเกี่ยวกับ Content รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถิติการเข้าชมเนื้อหาภายในหน้าเว็บไซต์
-สถิติเกี่ยวกับ Goal วิเคราะห์ว่าผู้ใช้งานเข้าถึงเป้าหมายภายในเว็บไซต์ได้อย่างไร






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น